เมนู

อานนท์เล่า ลำดับนั้น ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะ ให้ประชุมภิกษุสงฆ์ผู้
อยู่ในเมืองปาตลีบุตร และเมืองเวสาลี พร้อมกันแล้ว ให้อิ่มหนำเพียงพอ
ด้วยขาทนียะ โภชนียะ อันประณีต ด้วยมือของตน ให้ภิกษุครองคู่ผ้ารูปละ
คู่ ๆ และได้ให้ท่านพระอานนท์ครองไตรจีวร แล้วให้สร้างวิหารราคา 500
ถวายท่านพระอานนท์ ดังนี้แล.
จบอัฏฐกนาครสูตรที่ 2

2. อรรถกถาอัฏฐกนาครสูตร


อัฏฐกนาครสูตร

มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้ฟังมา
แล้วอย่างนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวฬุวคามเก ความว่ายังมีหมู่บ้านชื่อ
เวฬุวคาม ไม่ไกล อยู่ทางทิศใต้แห่งเมืองเวสาลี ท่านพระอานนท์กระทำ
เวฬุวคามนั้นให้เป็นโคจรคาม. บทว่า ทสโม ความว่า คฤหบดีแม้นั้น นับ
เข้าในฐานะที่ 10 โดยชาติและตระกูล และโดยการนับตระกูลที่ถึงความเป็น
ตระกูลมหาศาล ด้วยเหตุนั้น คฤหบดีนั้น จึงชื่อว่า ทสมะ. บทว่า
อฏฺฐกนาคโร แปลว่า ชาวอัฏฐกนคร. บทว่า กุกฺกุฏาราโม แปลว่า
อารามที่กุกกุฏเศรษฐีสร้าง.
ในบาลีนี้ว่า เตน ภควตา ฯ เป ฯ อกฺขาโต มีความสังเขปดังนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นใด ทรงบำเพ็ญบารมี 30 ถ้วน ทรงหักกิเลส
ทั้งปวง ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้น ทรงรู้อัธยาศัยและอนุสัยของเหล่าสัตว์นั้นๆ ทรงเห็นไญยธรรมทั้งปวงนั้น

ดุจผลมะขามป้อมอันวางไว้บนฝ่ามือ. อีกอย่างหนึ่ง ทรงรู้ด้วยปุพเพนิวาสญาณ
เป็นต้น ทรงเห็นด้วยทิพยจักษุ. ก็หรือว่า ทรงรู้ด้วยวิชชา 3 หรือ อภิญญา 6
ทรงเห็นด้วยสมันตจักษุ อันอะไร ๆ ไม่ขัดขวางในธรรมทั้งปวง. ทรงรู้ด้วย
ปัญญาอันสามารถรู้ธรรมทั้งปวง. ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายที่ล่วงจักษุวิสัยของสัตว์
ทั้งปวง หรือที่อยู่นอกฝาเรือนเป็นต้น ด้วยมังสจักษุอันบริสุทธิ์ยิ่ง. ทรงรู้
ด้วยปัญญา อันให้สำเร็จประโยชน์ส่วนพระองค์ ทรงเห็นด้วยเทศนาปัญญา
อันมีพระกรุณาเป็นปทัฏฐาน อันให้สำเร็จประโยชน์แก่ผู้อื่น. ชื่อว่าพระอร-
หันต์
เพราะทรงกำจัดข้าศึกเสียได้ และเพราะควรแก้การสักการะมีปัจจัย
เป็นต้น. ส่วนชื่อว่า สัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้สัจจะ 4 โดยชอบ และ
ด้วยพระองค์เอง. อีกอย่างหนึ่ง ทรงรู้อันตรายยิกธรรม ทรงเห็นนิยยานิกธรรม
เป็นพระอรหันต์ เพราะกำจัดข้าศึกคือกิเลส เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ เพราะ
ตรัสรู้ธรรมทั้งปวงด้วยพระองค์เอง รวมความว่า พระองค์ถูกสดุดีด้วยเหตุ 4
คือ เวสารัชชธรรม 4 อย่างนี้แล้ว จึงตรัสว่า ธรรมอันเอกมีอยู่หรือหนอ ?
บทว่า อภิสงฺขตํ แปลว่า อันปัจจัยกระทำแล้ว ให้เกิดแล้ว.
บทว่า อภิสญฺเจตยิตํ ความว่า ก่อให้สำเร็จแล้ว. คำว่า โส ตตฺถ ฐิโต
ความว่า คฤหบดีนั้นตั้งอยู่แล้วในธรรมคือสมถะ และ วิปัสสนานั้น. ด้วย
สองบทว่า ธมฺมราเคน ธมฺมนนฺทิยา พระองค์ตรัสฉันทราคะในสมถะ
และวิปัสสนา. จริงอยู่ บุคคลเมื่อสามารถครอบงำฉันทราคะโดยประการทั้งปวง
ในสมถะและวิปัสสนาย่อมเป็นพระอรหันต์ เมื่อไม่สามารถก็จักเป็นพระอนาคามี
เธอย่อมบังเกิดในชั้นสุทธาวาส ด้วยเจตนาอันสัมปยุตด้วยจตุตถฌาน เพราะ
ยังละฉันทราคะในสมถะและวิปัสสนาไม่ได้. นี้เป็นกถาสำหรับอาจารย์ทั้งหลาย.
ก็นักชอบพูดเคาะ พูดว่า "พระอนาคามีบังเกิดในสุทธาวาสเพราะอกุศล ตาม

พระบาลีว่า เตเนว ธมฺมราเคน ผู้นั้นจะพึงถูกกล่าวว่า จงชักพระสูตรมา
ผู้นั้นเมื่อไม่เห็นบาลีอื่นก็จะชักบาลีนี่แหละมาเป็นแน่ ดังนั้น ผู้นั้น พึงถูกต่อ
ว่าว่า ก็พระสูตรนี้ มีอรรถที่ควรอธิบาย มีอรรถที่อธิบายมาแล้วหรือ. ผู้นั้น
ก็จักกล่าวว่า มีอรรถที่ท่านอธิบายไว้แล้วเป็นแน่ ต่อนั้นเขาจะพึงพูดต่อว่า
เมื่อเป็นเช่นนั้น ความติดด้วยอำนาจความพอใจ ในสมถะและวิปัสสนา ก็จัก
เป็นกิเลสที่ผู้ต้องการอนาคามีผลพึงกระทำ เมื่อทำให้เกิดฉันทราคะขึ้น ก็จัก
แทงตลอดอนากามิผล. ท่านอย่าแสดงลอย ๆ ว่า ข้าพเจ้าได้สูตรมาแล้ว ผู้แก้
ปัญหาควรเรียนในสำนักของพระอริยเจ้า จนรู้แจ้งอรรถรสแล้วจึงแก้ปัญหา.
ด้วยว่า ชื่อว่า การปฏิสนธิในสวรรค์ด้วยอกุศล หรือว่าในอบายด้วยกุศลไม่มี
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมปรากฏด้วยกรรมที่
เกิดแต่โลภะ เกิดแต่โทสะ และเกิดแต่โมหะหามิได้ ก็หรือว่าสุคติแม้อื่น
อย่างใดอย่างหนึ่งก็เหมือนกัน โดยที่แท้ นรก กำเนิดเดียรัจฉาน และปิตติ-
วิสัย ย่อมปรากฏด้วยกรรมที่เกิดแต่โลภะ โทสะ และโมหะ ก็หรือทุคติอย่างใด
อย่างหนึ่งก็เหมือนกัน.
เข้าผู้นั้นก็จะพึงถูกทำให้เข้าใจอย่างนี้ว่า หากว่า ท่านเข้าใจได้ก็จง
เข้าใจไปเถิด หากไม่เข้าใจ ก็จะต้องถูกส่งกลับวัดให้ฉันข้าวต้มแต่เช้าๆ. ท่าน
กล่าวสมถะและวิปัสสนาไว้ในมหามาลุงกโยวาทสูตรบ้าง มหาสติปัฏฐานสูตร
บ้าง กายคตาสติสูตรบ้าง เหมือนในพระสูตรนี้.
ในบรรดาพระสูตรเหล่านั้น ในพระสูตรนี้พระองค์ตรัสหมายถึง ธุระ
คือวิปัสสนาธุระเท่านั้น สำหรับภิกษุผู้ทั้งดำเนินไปด้วยสามารถแห่งสมถธุระทั้ง
ดำเนินไปด้วยสามารถแห่งวิปัสสนาธุระ. ใน มหามาลุงกโยวาทสูตร พระ-

องค์ตรัสหมายถึงธุระคือวิปัสสนาธุระ ส่วนใน มหาสติปัฏฐานสูตร พระ-
องค์ตรัสหมายถึงธุระคือวิปัสสนาธุระอันเยี่ยม. ใน กายคตาสติสูตร พระ-
องค์ตรัสหมายถึงธุระคือสมถธุระอันเยี่ยม.
ธรรมแม้ทั้ง 11 อย่าง ชื่อว่าเป็นธรรมเอก เพราะเป็นการถามถึง
ธรรมอันเอกว่า อยํ โข คหปติ ฯ เป ฯ เอกธมฺโม อกฺขาโต จึงแสดง
เป็นปุจฉาอย่างนี้ว่า แม้นี้ก็จัดเป็นธรรมเอก จริงอยู่ ในมหาสกุลุทายีสูตร มี
ปุจฉาถึง 19 ปุจฉาทั้งหมดก็จัดเป็นธรรมเอกโดยปฏิปทา. ธรรม 11 อย่างใน
ที่นี้มาว่าเป็นธรรมเอกโดยปุจฉา. อีกอย่างหนึ่ง ควรจะกล่าวว่า แม้ทั้งหมด
ก็ชื่อว่าธรรมเอกโดยอรรถว่า ทำให้เกิดอมตธรรม.
บทว่า นิธิมุขํ คเวสนฺโต แปลว่า แสวงหาขุมทรัพย์. บทว่า
สกิเทว แปลว่า โดยการประกอบครั้งเดียวเท่านั้น. ถามว่า ก็การได้ขุมทรัพย์
11 อย่าง โดยการประกอบครั้งเดียวมีได้อย่างไร ? ตอบว่า บุคคลบางคนใน
โลกนี้ เที่ยวแสวงหาขุมทรัพย์ในป่า ผู้เสวงหาทรัพย์อีกคนหนึ่ง พบคนนั้น
แล้วถามว่า พ่อมหาจำเริญ ท่านเที่ยวไปทำไม ? เขาตอบว่า ข้าพเจ้าแสวงหา
ทรัพย์เครื่องเลี้ยงชีวิต. อีกคนหนึ่งบอกว่า เพื่อน ถ้าอย่างนั้น มาไปพลิกหิน
ก้อนนั้น เขาพลิกหินก้อนนั้นแล้ว พบหม้อทรัพย์ 11 หม้อ ที่วางซ้อน ๆ กัน
หรือที่วางเรียงกันไว้. การได้ขุมทรัพย์ 11 ขุม ด้วยการประกอบครั้งเดียว มีได้
อย่างนี้. บทว่า อาจริยธนํ ปริเยสิสฺสนฺติ ความว่า ก็อัญญเดียรถีย์ทั้งหลาย
เรียนศิลปะในสำนักของอาจารย์ใด นำทรัพย์ออกจากเรือนมอบให้อาจารย์นั้น
ก่อน หลัง หรือ ระหว่างเรียนศิลปศาสตร์. คนที่ไม่มีทรัพย์ในเรือนย่อม
แสวงหาทรัพย์จากญาติ หรือจากผู้ที่ชอบพอกัน เมื่อไม่ได้อย่างนั้นก็ต้อง

ขอเขาให้ ท่านหมายเอาทรัพย์นั้น จึงกล่าวคำนี้ . บทว่า กิมงฺคมฺปนาหํ
ความว่า ก่อนอื่น คนภายนอกศาสนาแสวงหาทรัพย์ เพื่ออาจารย์ผู้ให้เพียง
ศิลปะในศาสนาแม้ที่มิใช่เป็นนิยยานิกธรรม ก็ไฉนเราจักไม่กระทำการบูชา
อาจารย์ผู้แสดงปฏิปทาที่ให้เกิดอมตธรรม 11 อย่าง ในศาสนาที่เป็นนิยยานิกะ
ธรรมเล่า. เขาจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักทำการบูชาทีเดียว. บทว่า ปจฺเจกํ
ทุสฺสยุเคน อจฺฉาเทสํ ความว่า เราได้ถวายคู่ผ้าแก่ภิกษุแต่ละองค์ องค์ละคู่.
ในที่นี้คำที่เปล่งขึ้น ก็อย่างนั้น เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า อจฺฉาเทสิ. คำว่า
ปญฺจสตํ วิหารํ ความว่า ได้สร้างบรรณศาลาราคา 500 คำที่เหลือในทุก ๆ
บท ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาอัฏฐกนาครสูตรที่ 2

3. เสขปฏิปทาสูตร


เจ้าศากยะสร้างสัณฐาคารใหม่



[24] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ นิโครธาราม เขตเมือง
กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ก็สมัยนั้น สัณฐาคารใหม่ที่พวกเจ้าศากยะเมือง
กบิลพัสดุ์ให้สร้างแล้วไม่นาน อันสมณพราหมณ์หรือมนุษย์ผู้ใดผู้หนึ่งยังมิได้
เคยอยู่เลย ครั้งนั้น พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอประทานพระวโรกาส
สัณฐาคารใหม่อันพวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ให้สร้างแล้วไม่นาน อันสมณ-
พราหมณ์หรือมนุษย์ผู้ใดผู้หนึ่งยังมิได้เคยอยู่เลย ขอเชิญพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบริโภคสัณฐาคารนั้นเป็นปฐมฤกษ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบริโภคเป็น
ปฐมฤกษ์แล้ว พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์จักบริโภคภายหลัง ข้อนั้น พึงมี
เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์สิ้นกาลนาน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับด้วยดุษณีภาพ.
ลำดับนั้น พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ทราบการรับของพระผู้มี-
พระภาคเจ้าแล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประ-
ทักษิณแล้วเข้าไปยังสัณฐาคารใหม่ แล้วสั่งให้ปูลาดสัณฐาคารให้มีเครื่องลาด
ทุกแห่ง ให้แต่งตั้งอาสนะ ให้ตั้งหม้อน้ำ ให้ตามประทีปน้ำมัน แล้วเข้าไป
เผ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วยืนอยู่
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า